1.1 บุคคลธรรมดา
1.
ความสำคัญของสภาพบุคคล
เนื่องจากบทกฎหมายทั้งปวงมีขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลทั้งสิ้น
ดังนั้นสิ่งที่มีสภาพบุคคล กล่าวคือมีความเป็นคนเท่านั้น
จึงจะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายได้ สิ่งที่ไม่มีสภาพบุคคลเช่นสิ่งของทั่วไปล้วนไม่อาจมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายได้
กับทั้งต้องกลายมาอยู่ใต้บังคับแห่งสิทธิของบุคคลอีกด้วย อย่างไรก็ดี
แม้กฎหมายจะบัญญัติห้ามบุคคลทำร้ายสัตว์
แต่ก็มิได้หมายให้สัตว์มีสิทธิหน้าที่อย่างมนุษย์ กฎหมายเช่นว่าเป็นเพียงการคุ้มครองและรับรองมาตรฐานแห่งศีลธรรมอันดีที่บุคคลพึงมีเท่านั้น การที่บุคคลสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ดังกล่าวนี้
เรียกว่าความเป็นสามารถที่จะเป็น "ประธานแห่งสิทธิ" ก็มี เป็น
"ตัวการแห่งสิทธิ"
ก็มีการที่กฎหมายรับรองให้มนุษย์มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ยังเป็นการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์ และรับรองว่ามนุษย์มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เสมอกันอีกด้วย
2.
การสิ้นสุดลงของสภาพบุคคล เมื่อบุคคลตายลง สภาพของบุคคลนั้นย่อมสิ้นสุดลงไปด้วย และมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดไปถึงทายาทอย่างไรก็ดี ในกรณีที่บุคคลแสดงเจตนาใด ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการมรดกของตนไว้ก่อนตาย
เช่น ทำเป็นพินัยกรรมก็ดี หรือทำเป็นหนังสืออื่นใดก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี
การจัดการมรดกเมื่อบุคคลนั้นตายลงย่อมดำเนินไปตามเจตนาเช่นว่านั้น
บุคคลก่อนที่จะตายย่อมมีสิทธิกำหนดทายาทของมรดกตน (มาตรา 1620 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย)
ตัดทายาทออกจากกองมรดก (มาตรา 1608 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย)
กำหนดวิธีการโอนทรัพย์แห่งมรดก (มาตรา 1700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย)
และกำหนดให้ผู้ใดเป็นผู้ปกครองทรัพย์แห่งมรดกตนได้ (มาตรา 1687 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย) เป็นต้น
ในกรณีที่บุคคลมิได้แสดงเจตนาเช่นว่าไว้
มรดกของบุคคลนั้นย่อมได้รับการดำเนินการไปตามกฎหมายเรื่องการตายของบุคคลนั้นสำคัญเนื่องจากบุคคลใดตายลง
สิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่ตายนั้นก็ย่อมตกทอดไปสู่ผู้อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติต่อไป
3. สิ่งที่ประกอบเป็นสภาพบุคคล
1. อายุของบุคคล แต่เดิมในประเทศไทยมิได้มีการกำหนดเกี่ยวกับการนับอายุของบุคคลเอาไว้แม้จะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็ตาม
นักนิติศาสตร์ช่วงนั้นจึงตีความว่าให้เริ่มนับตั้งแต่วันรุ่งขึ้นถัดจากวันที่เกิดเพื่อให้เป็นไปตามวิธีการนับระยะเวลาทั่วไปตามประมวลกฎหมายนั้น
เช่น นาย ก เกิดวันที่ 1 มกราคม 2551 อายุของนาย ก จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 2
มกราคม 2551 เป็นต้นไป ต่อมา
เกิดปัญหาว่าวิธีการดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ
จึงมีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 ว่า สำหรับกรณีที่ไม่รู้ทั้งวัน เดือน และปีเกิดเลย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดวิธีแก้ไขไว้ ในกรณีเช่นว่านี้ มีฎีกาที่ 489
และ 490/2464 5 ธส. 373 ปรากฏว่า
ศาลเคยรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุของจำเลยโดยพิจารณาจากสภาพรูปร่างสังขารของจำเลย
กับทั้งยังมีกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช 2497กำหนดว่า ในกรณีที่ไม่ทราบวัน เดือน และปีเกิดของผู้ใด
ให้นายอำเภอท้องที่นั้น ๆ
สอบปากคำเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงว่าเชื่อกันว่าผู้นั้นมีอายุเท่าใด
โดยประกอบกับการพิจารณาจากสภาพรูปร่างสังขารของผู้นั้นด้วย เรื่องอายุของบุคคลนี้มีความสำคัญต่อสิทธิและหน้าที่ของบุคคลหลายประการ
เช่น การบรรลุนิติภาวะของบุคคล ความสามารถในการทำพินัยกรรมของบุคคล เป็นต้นปรกติแล้ว การพิสูจน์วัน เดือน
ปีเกิดของบุคคล กระทำได้โดยตรวจสอบจากการจดแจ้งไว้ในทะเบียนสำมะโนครัวอันเป็นเอกสารมหาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 127
2. ภูมิลำเนาของบุคคล "ภูมิลำเนา" หมายถึง
ถิ่นที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญของบุคคล
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนสำมะโนครัวดังที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
ตามกฎหมายไทย ภูมิลำเนาของบุคคลมีอยู่สองประเภท คือ
ถิ่นที่อยู่อันบุคคลธรรมดาแสดงเจตนาว่าให้เป็นภูมิลำเนา
และภูมิลำเนาของบุคคลประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นการเฉพาะชื่อของบุคคล "ชื่อ" คือ คำตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สถานที่ และสิ่งของโดยทั่ว
ๆ ไปและโดยเฉพาะเจาะจงชื่อของบุคคลนั้นเป็นคำที่ตั้งขึ้นไว้แยกแยะบุคคลหนึ่งออกจากอีกบุคคลหนึ่ง
กฎหมายจึงกำหนดให้บุคคลทุกคนต้องมีชื่อ และชื่อของบุคคลได้
3.
ชื่อของบุคคล ดูเพิ่มเติมที่ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล
พ.ศ. 2505 และกฎหมายประกอบกฎหมายไทยว่าด้วยชื่อบุคคลฉบับปัจจุบัน (พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ 2505)
กำหนดให้บุคคลที่มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัว (อังกฤษ: first name) และชื่อสกุล
(อังกฤษ: family name หรือ last
name) เมื่อบุคคลคลอดจากครรภ์มารดา เจ้าบ้านหรือมารดาของบุคคลนั้น
แล้วแต่กรณี มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่คลอดภายในสิบห้าวันนับแต่วันคลอด
โดยในการแจ้งเกิดต้องแจ้งชื่อตัวและชื่อสกุลของคนเกิดด้วย บุคคลที่ได้รับพระราชทานราชทินนามจากพระมหากษัตริย์มีสิทธิเอาราชทินนามนั้นมาเป็นชื่อตัว
ชื่อรอง หรือชื่อสกุลก็ได้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ผู้ใดจะมาใช้ชื่ออย่างเดียวกันมิได้
1.2 นิติบุคคล
1. ความหมายคำว่านิติบุคคล นิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคล องค์กร
หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายสมมุติให้เป็นบุคคลทั้งที่จริงแล้วมิใช่บุคคลเลยเพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ทั่วไปเหมือนบุคคลธรรมดา
และมีสิทธิและหน้าที่โดยเฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติหรือภายในขอบเขตหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือตราสารจัดตั้งหรือในข้อบังคับของนิติบุคคลนั้น ๆ
นิติบุคคลจะมีได้ก็แต่โดยอำนาจแห่งกฎหมายจัดตั้งขึ้น เดิมเรียกว่า
"บุคคลนิติสมมุติ" หรือ "บุคคลนิติสมมติ"
2. ประเภทของนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นจะมีได้ก็แต่โดยอำนาจแห่งกฎหมายจัดตั้งขึ้น เช่น
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551 บัญญัติให้มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนขึ้นเป็นองค์การมหาชนโดยให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายไทยนั้น
แบ่งประเภทนิติบุคคลไว้เป็นเจ็ดจำพวก ดังต่อไปนี้ 1) ทบวงการเมือง 2) วัดวาอาราม
3) ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว 4) บริษัทจำกัด 5) สมาคม 6) มูลนิธิ และ 7)
นิติบุคคลอื่น ๆ ที่กฎหมายจัดตั้งขึ้น (มาตรา 65 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ทบวงการเมือง ทบวงการเมือง
(อังกฤษ: administrative
department (นิติศาสตร์) , public body (รัฐศาสตร์)
) คือ
ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง
ซึ่งได้แก่
1.
ราชการส่วนกลาง (อังกฤษ: central
administration) ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
และส่วนราชการที่เรียกชื่อย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ประเภทหลังนี้เช่น ราชบัณฑิตยสถานซึ่งมีฐานะเป็นกรมแต่ไม่ได้มีชื่อเรียกกว่ากรม เป็นต้น
2.
ราชการส่วนภูมิภาค (อังกฤษ: provincial
administration) ได้แก่ จังหวัดอย่างเดียวเท่านั้น
ถึงแม้ว่าราชการส่วนภูมิภาคจะแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอก็ตาม
อำเภอมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด
3.
ราชการส่วนท้องถิ่น (อังกฤษ: local
administration) ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงเทพมหานครเมืองพัทยา และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ
ที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นวัดวาอาราม วัดวาอาราม
(อังกฤษ: monasteries) หมายเอาแต่วัดวาอารามของพุทธศาสนาซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วเท่านั้น
วัดวาอารามของพุทธศาสนาที่มิได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่ถือเป็นนิติบุคคล
แต่ให้ถือเป็นสำนักสงฆ์เท่านั้น
ส่วนวัดวาอารามของศาสนาอื่นจะเป็นนิติบุคคลได้ก็ต่อเมื่อจดทะเบียนเป็นวัดวาอารามตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ๆ แล้ว เช่น กฎหมายว่าด้วยมัสยิดอิสลาม
และกฎหมายว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เป็นต้น
ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน (อังกฤษ: partnership) ที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว
โดยมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยว่า
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นจัดตั้งขึ้นได้โดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาตกลงกันว่าจะทำกิจการด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งสันปันส่วนกำไรที่ได้จากกิจการนั้น
แล้วทำสัญญากันไว้เพื่อการจัดตั้งเช่นว่า สัญญานี้เรียก
"สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน" ซึ่งในมาตราถัดมาได้จำแนกห้างหุ้นส่วนเป็นสองจำพวกคือ
1.
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (อังกฤษ: ordinary
partnership หรือ universal partnership) คือ
ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ทั้งปวงของห้างนั้น
(มาตรา 1025 และมาตรา 1015 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (อังกฤษ: limited
partnership) คือห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก
จำพวกหนึ่งมีหน้าที่รับผิดในหนี้ของห้างนั้นจำกัดตามจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงหุ้น
และอีกจำพวกมีหน้าที่ต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน (มาตรา 1077
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียนเสมอ บริษัทจำกัด บริษัทจำกัด
(อังกฤษ: limited
company) คือ
บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน
โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
บริษัทจำกัดนี้จะเป็นนิติบุคคลได้ต่อเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว (มาตรา 1015
และมาตรา 1096 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) สมาคม สมาคม (อังกฤษ: association) คือ นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทำการใด ๆ
อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน
สมาคมต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(มาตรา 78 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)มูลนิธิ มูลนิธิ (อังกฤษ: foundation) คือ
ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา
ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อธารณประโยชน์อย่างอื่น
โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน
และเมื่อได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็มีสถานะเป็นนิติบุคคล
(มาตรา 110 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)มูลนิธิเป็นคำสมาสระหว่าง "มูล" (รากเหง้า, ทั้งหมดทั้งสิ้น, โคตร)
+ "นิธิ" (ขุมทรัพย์) แปลว่า บ่อรวมแห่งทรัพย์สิน ทรัพย์สินของมูลนิธินั้นต้องได้รับการบริหารจัดการไปในทางที่มิใช่เพื่อหาประโยชน์ให้แก่บุคคลใด
แต่ต้องเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมูลนิธินั้น ๆ ในการจัดตั้งมูลนิธินั้นจะต้องมีการวางข้อบังคับซึ่งอย่างน้อยต้องเกี่ยวกับชื่อมูลนิธิ
วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งมวล
ทรัพย์สินที่มีขณะจัดตั้ง วิธีการบริหารจัดการทรัพย์สิน และคณะกรรมการมูลนิธิ
โดยจะต้องกำหนดตัวกรรมการมูลนิธิไว้ด้วยเลยในคราวนั้น
และตัวกรรมการนี้อย่างน้อยต้องมีสามคนให้เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิตามกฎหมายและตามข้อบังคับนั้น นิติบุคคลอื่น ๆ
นิติบุคคลอื่น ๆ ที่กฎหมายจัดตั้งขึ้น เป็นเรื่องของรายละเอียดปลีกย่อย
ซึ่งปัจจุบันนิติบุคคลประเภทนี้ก็มีอยู่อักโข ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจ องค์กร องค์การต่าง ๆ
ตามแต่กฎหมายจะระบุให้เป็นนิติบุคคล เช่น การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ฯลฯ
3.
สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นมีสิทธิและหน้าที่โดยทั่ว ๆ ไปเหมือนอย่างบุคคลธรรมดา แต่จะมีสิทธิและหน้าที่โดยเฉพาะด้วยตามที่กฎหมายบัญญัติ
หรือภายในขอบเขตหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือตราสารจัดตั้งหรือในข้อบังคับของนิติบุคคลนั้น
ๆ (มาตรา 66 และมาตรา 67 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิและหน้าที่โดยเฉพาะดังกล่าว เช่น วัดวาอารามมีวัตถุประสงค์เพื่อการศาสนา
บริษัทมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการค้าหากำไร พรรคการเมืองที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการทางการเมือง
เป็นต้น แต่สิทธิและหน้าที่อย่างบุคคลธรรมดา ใช่ว่านิติบุคคลอาจมีได้ทั้งหมด เช่น
นิติบุคคลไม่อาจมีครอบครัวได้จึงไม่มีสิทธิในครอบครัว
และนิติบุคคลไม่อาจทำการสมรสและมีบุตรสืบเผ่าพงศ์วงศ์วานได้ก็ไม่มีสิทธิเกี่ยวกับการสมรสและบุตร
เป็นต้น
4. ภูมิลำเนาของนิติบุคคล นิติบุคคลมีภูมิลำเนาได้สามกรณีดังต่อไป 1)
ภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือที่ทำการ 2)
ภูมิลำเนาที่เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามแต่จะกำหนดไว้ในกฎหมายหรือตราสารจัดตั้ง
หรือในข้อบังคับของนิติบุคคลนั้น ๆ หรือ 3)
ภูมิลำเนาอันเป็นที่ตั้งของที่ทำการสาขาหรือสำนักงานสาขา
โดยให้เป็นภูมิลำเนาสำหรับกิจการที่ได้ทำ ณ สาขานั้น ๆ
ผู้เยาว์อายุ 15 ปีสามารถแต่งงานกันได้มั้ยคะ?
ตอบลบสามารถแต่งงานได้ค่ะแต่ต้องมีพ่อแม่ของทั้ง2ฝ่ายมาเช็นยินยอมด้วยค่ะ
ลบ