วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 16 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท

บทที่ 16 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท      

     ลักษณะของห้างหุ้นส่วน  มาตรา  1012  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า  "อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล  ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน  เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น"  ดังนั้นตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้        1.  บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะนำทุนมาเข้าหุ้นกันมากน้อยเท่าใดก็ได้
                2.  ตกลงเข้ากัน  คือ บุคคลที่จะเข้าร่วมประกอบกิจการได้ทำสัญญาตกลงกันว่าจะประกอบการค้าร่วมกัน  การตกลงกันนั้น  จะต้องมีการแสดง เจตนาโดยแจ้งชัด  อาจจะทำเป็นสัญญาปากเปล่า หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้ว่าจะเข้าเป็น "ห้างหุ้นส่วน"  ทุนที่จะนำมาลง  ได้แก่ เงินสด  ทรัพย์สินอย่างอื่น  หรือ  แรงงาน คือ ใช้กำลัง สติปัญญา  ความคิดแรงกายแทน
                3.  เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน  คือคู่สัญญา  จะต้องมาร่วมแรงรวมใจและร่วมทุกข์กันเพื่อทำการตามที่ได้ตกลงไว้
                4.  เพื่อประสงค์กำไร   คือ  เป็นการตกลงใจทำงาน  โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อผลกำไร  อันได้เกิดจากกิจการที่ทำนั้น  และผลกำไรจะได้นำมาแบ่งกัน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน   แต่ถ้ากิจการไม่หวังผลกำไร  กิจการนั้นไม่ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วน
ประเภทห้างหุ้นส่วน
                1.  ห้างหุ้นส่วนสามัญ    มีหุ้นส่วน  สองคนขึ้นไป   ผู้เป็นหุ้นส่วนจะอยู่ฐานะผู้จัดการ  และทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน  ตามกฎหมายเรียกว่า  ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญ   และเรียกผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานของห้างว่า  "หุ้นส่วนผู้จัดการ" 
ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญ
                 1.  การจัดตั้งกระทำได้ง่าย
                  2.  มีการร่วมทุนและความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วน
                  3.  สามารถขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนหรือรับหุ้นส่วนเพิ่มได้
ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนสามัญ
                  1.  เมื่อห้างมีการขาดทุนและเลิกกิจการ  ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีฐานะการเงินดีจะถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้ของห้างทั้งหมดได้
                   2.  ความคล่องตัวและความเป็นอิสระ ในการบริหารงานลดลง
                   3.  การเสียภาษี เป็นการเสียแบบบุคคลธรรมดา
                   4.  ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ร่วมกันโดยเจ้าหนี้ อาจจะเรียกให้หุ้นส่วนคนใดชำระหนี้ให้จนครบจำนวนย่อมได้  
2.  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  
                การประกอบการแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  มีลักษณะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญทุกประการ  แต่มีข้อแตกต่างกัน   คือการนำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีผลให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเป็นนิติบุคคล  แยกต่างหากจากห้างหุ้นส่วน     
ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
                   1.  การเสียภาษีแบบนิติบุคคล
                   2.   ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น เนื่องจากมีผู้สอบบัญชี
                   3.  มีการร่วมลงทุนและความรู้ของหุ้นส่วน
3.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด  คือ องค์กรธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่  ๒  คนขึ้นไปมาร่วมกันลงทุนประกอบกิจการแสวงหากำไรแบ่งปันกัน  โดยมีผู้ลงหุ้น  ๒  จำพวกคือ  จำพวกความรับผิดไม่จำกัดและพวกความรับผิดจำกัด
ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัด  
                ห้างหุ้นส่วนจำกัด  มีลักษณะทั่วไปเหมือนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  และมีลักษณะ  ๒  ประการ  ดังนี้
                ๑.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  มีหุ้นส่วน  ๒  จำพวก  คือ
                     (๑)  หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด  หมายถึง  หุ้นส่วนซึ่งจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับลงหุ้น  เช่นรับจะลงหุ้น  ๑  แสนบาท  ก็รับผิดเพียง  ๑  แสนบาท  เป็นต้น
                     (๒)  หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด  หมายถึง  หุ้นส่วนที่ต้องรับผิดในห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
                ๒.  ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
                ผลของการไม่จดทะเบียน
                เมื่อมีการตกลงจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้น  หากยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  กฎหมายให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ  ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างฯ  โดยไม่จำกัดจำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียนไว้เท่าใด
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด  
                การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด  ต้องไปจดทะเบียนหุ้นส่วน  ณ  กรมทะเบียนการค้าในท้องที่ซึ่งสำนักงานใหญ่ของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นตั้งอยู่  การจดทะเบียนต้องมีรายการต่อไปนี้
                (๑)  ซื่อห้างหุ้นส่วน
                (๒)  ข้อแถลงความว่าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด  และวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนนั้น
                (๓)  ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
บริษัทจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำพวกเดียว โดยผู้คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีหุ้นส่วนเป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วย การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2538
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปประสงค์จะประกอบกิจการในรูปของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นห้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจะต้องตกลงแต่งตั้งผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนริษัทที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
สาระสำคัญที่ต้องจดทะเบียน
ในการจดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด รายการจดทะเบียนต่าง ๆ ที่กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนจะมีสารสำคัญเหมือนกัน ดังนี้
ชื่อห้างหุ้นส่วนวัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
ชื่อ ยี่ห้อ สำนักอาชีวะ และสิ่งที่นำมาลงหุ้นของหุ้นส่วนทุกคน ในกรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องแยกตามประเภทของผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความรับผิดชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการตราของห้างหุ้นส่วนรายการอื่นที่เห็นควรจะให้ประชาชนทราบหุ้นส่วนทุกคนต้องลงลายมือชื่อในรายการจดทะเบียนด้วยตนเองขั้นตอนการขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องตกลงเรื่องชื่อของห้างหุ้นส่วน แล้วยื่นแบบจองชื่อนิติบุคคลเพื่อให้ตรวจสอบชื่อ เมื่อได้รับอนุญาตให้จองชื่อแล้ว จะต้องจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จองชื่อจัดทำคำขอและรายการจดทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารประกอบตามที่กำหนดในระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 238ยื่นคำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน รายการจดทะเบียนจัดตั้งและเอกสารประกอบโดยหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนฯ หรือสามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือต่อหน้าฑูตหรือกงศุลไทยประจำประเทศนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจพิจารณา เมื่อเห็นว่าคำขอจดทะเบียน รายการจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนถูกต้อง ก็จะสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียมผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดต้งห้างหุ้นส่วน โดยคิดค่าธรรมเนียมตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน (ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน คิดค่าธรรมเนียม 1,000,000 บาท หากเกิน 3 คน คิดส่วนที่เกินอีกคนละ 200,000 บาท)เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบียน พร้อมทั้งหนังสือรับรองรายการทางทะเบียนหากผู้ขอได้ขอไว้
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
จะต้องดำเนินการจดทะเบียน 2 ขั้นตอน ดังนี้คือ
การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
ในการดำเนินการขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก็เช่นเดียวกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน โดยผู้เริ่มก่อการทั้งหมดซึ่งต้องมีอย่างน้อย 7 คน ต้องให้ผู้เริ่มก่อการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการขอจดทะเบียน ทำหน้าที่ดำเนินการขอทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่บริษัทนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
สาระสำคัญที่ต้องจดทะเบียน
ผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทต้องรวมกันจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ ในหนังสือบริคณห์สนธิจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้
ชื่อบริษัทจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท วัตถุที่ประสงค์ทั้งหลายของบริษัทข้อแถลงแสดงว่าความรับผิดของผู้ถือหุ้นมีจำกัดจำนวนทุน จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นของบริษัทชื่อ ที่อยู่ อาชีวะ และจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้ของผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทและลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการทุกคนชื่อของพยาน 2 คน ซึ่งลงชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการทุกคนขั้นตอนการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิผู้เริ่มก่อการต้องตกลงเรื่องชื่อของบริษัท แล้วยื่นแบบจองชื่อนิติบุคคลเพื่อให้ตรวจสอบชื่อ เมื่อได้รับอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว จะต้องจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จองชื่อจัดทำคำขอและรายการจดทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารประกอบตามที่กำหนดในระเบียบฯยื่นคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สินธิ รายการจดทะเบียนและเอกสารประกอบโดยผู้เริ่มก่อการลงชื่อในคำขอจดทะเบียนเช่นเดียวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนเจ้าหน้าที่จะดำเนินการพิจารณาเช่นเดียวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน เมื่อถูกต้องก็จะสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียมผู้ขอจดทะบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ โดยคิดค่าธรรมเนียมตามทุนที่ขอจดทะเบียน (ทุนจดทะเบียนหนึ่งแสนบาทคิดค่าธรรมเนียม 50.00 บาท เศษของหนึ่งแสนบาทคิดเท่ากับหนึ่งแสนบาท แต่เก็บค่าธรรมเนียมอย่างน้อย 500.00 บาท อย่างมาก 25,000 .00 บาท )เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว นายทะเบียนจะรับจดทะเบียน
การจดทะเบียนตั้งบริษัท
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัททั้งหมดมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจนครบ เมื่อมีผู้เข้าจองซื้อหุ้นจนครบแล้ว ผู้เริ่มก่อการจะออกหนังสือนัดประชุมส่งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนเพื่อเรียกประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมเช่นนี้เรียกว่า การประชุมตั้งบริษัท หนังสือนัดประชุมนี้จะต้องออกก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันกิจการที่จะต้องทำในที่ประชุมจัดตั้งบริษัททำความตกลงเรื่องข้อบังคับของบริษัท ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเขาต้องออกไปในการเริ่มก่อตั้งบริษัทวางกำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ ถ้าหากมีเจตนาว่าจะให้วางกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ์ ทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิ์แห่งหุ้นนั้น ๆ ว่าเป็นสถานใดเพียงใด ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัทวางกำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ ซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้ว หรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว เพราะใช้ให้ด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน และกำหนดว่าเพียงใดซึ่งจะถือเอาเป็นว่าได้ใช้แล้ว ถ้าหากมจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัทให้แถลงในที่ประชุมโดยเฉพาะว่า ซึ่งจะออกหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินแล้วเช่นนั้น เพื่อแทนคุณแรงงานหรือตอบแทนทรัพย์สินอย่างใดให้พรรณนาจงชัดเจนทุกประการ
6.เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัท และวางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย
ในการประชุมตั้งบริษัทที่ประชุมจะต้องรับรองบัญชีรายชื่อ ฐานะ และสำนักของผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นพร้อมทั้งจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนได้ลงชื่อซื้อไว้เมื่อที่ประชุมตั้งบริษัทได้เลบือกกรรมการชุดแรก ผู้เริ่มก่อการจะมอบการงานทั้งมหดให้แก่กรรมการรับไปดำเนินงานต่อไป กรรมการจะเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายชำระค่าหุ้น ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น เมื่อได้รับค่าหุ้นแล้วกรรมการจะดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทต่อไป ซึ่งจะต้องกระทำภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัท
สาระสำคัญที่ต้องจดทะเบียน
จำนวนหุ้นทั้งสิ้นซึ่งได้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือได้จัดออกให้แแล้ว แยกให้ปรากฎว่าเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวนเท่าใด
จำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ ซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้วนอกจากที่ให้ใช้เป็นตัวเงิน และหุ้นที่ได้ใช้แต่บางส่วนนั้นได้ใช้แล้วเพียงใด
จำนวนเงินทีได้ใช้แล้วหุ้นละเท่าใด
จำนวนเงินทีได้รับไว้เป็นค่าหุ้นรวมทั้งสิ้นเท่าใด
ชื่อ อาชีวะ และที่อยู่ของกรรมการทุกคน
6. จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้
7. ข้อแถลงแสดงว่าบริษัทได้ตั้งขึ้นโดยมีหรือไม่มีกำหนดอายุ
8. ข้อแถลงแสดงว่าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
9. รายการอย่างอื่นที่เห็นควรจะให้ทราบแก่ประชาชน
10. ตราของบริษัท
11.ข้อแถลงแสดงว่าบริษัทได้ตั้งขึ้นโดยมีหรือไม่มีข้อบังคับ
ขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัท
เมื่อบริษัทจัดประชุมตามวาระการประชุมครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และกรรมการได้รับชำระค่าหุ้นจากผู้เริ่มก่อการและผู้ชื่อซื้อหุ้นครบถ้วนแล้ว กรรมการจะต้องจัดทำคำขอและรายการจดทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารประกอบตามที่กำหนดในระเบียบฯยื่นคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท รายการจดทะเบียนและเอกสารประกอบ โดยกรรมการผู้มีอำนาจตามมติที่ประชุมตั้งบริษัทเป็นผู้ลงชื่อในคำขอเช่นเดียวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน และต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัทเจ้าหน้าที่จะตรวจพิจารณา สั่งชำระค่าะรรมเนียม รับจดทะเบียน ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและหนังสือรับรองรายการทางทะเบียนเช่นเดียวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน โดยคิดค่าธรรมเนียมตามทุนที่ขอจดทะเบียน (ทุนจดทะเบียนหนึ่งแสนบาทคิดค่าธรรมเนียม 500.00 บาท เศษของหนึ่งแสนบาทคิดเท่ากับหนึ่งแสนบาท แต่เก็บค่าธรรมเนียมอย่างน้อย 5,000.00 บาท อย่างมากไม่เกิน 250,000.00 บาท)


1 ความคิดเห็น:

  1. ฉันอยากจะทำให้ตัวเองดี-ในที่สุดฉันก็เริ่มปกติเงิน เพราะฉันทำงานสำหรับลุงของฉันทั้งชีวิตของฉันและฉันไม่สามารถเอาอะไรออก งั้นฉันได้ยินเรื่องเว็บไซต์นี้ https://topbrokers.com/th/forex-brokers และเริ่มเรียนรู้วิธีที่จะทำให้เงินที่ดีกว่ามันช่วย

    ตอบลบ