วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2 กฎหมายลักษณะนิติกรรม

   บทที่ 2 กฎหมายลักษณะนิติกรรม

2.1ลักษณะทั่วไปของนิติกรรม
การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 5 ประการ
1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดง เจตนา
2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย
3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ
4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตาม กฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา
5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ
2.2 ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม
บุคคล  หมายถึง  สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย  ดังนั้นโดยหลักแล้วบุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมได้ทั้งสิ้น  เว้นแต่บุคคลนั้นจะเป็นผู้หย่อนความสามารถหรือกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมไว้  ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคลเหล่านั้น
ผู้หย่อนความสามารถ  หมายถึงบุคคลดังต่อไปนี้ 
1. ผู้เยาว์  หมายถึง  บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย  ซึ่งบุคคลจะบรรลุนิติภาวะได้  มีเงื่อนไขดังนี้
ก. อายุครบ  20  ปีบริบูรณ์
ข. ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการสมรสตามกฎหมายนั้นจะทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  โดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมของทั้งสองฝ่าย  หรือหากมีอายุน้อยกว่า  17  ปี  หากมีเหตุสมควรและมีดุลพินิจของศาลอนุญาตให้สมรสได้  บุคคลดังกล่าวนั้นจะกลายเป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย  แม้ต่อมาหย่าขาดจากกันขณะอายุยังไม่ถึง  20 ปี ก็ยังคงเป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะเช่นเดิม
2.  คนไร้ความสามารถ  หมายถึง  คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ  และตั้งผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถนั้น  คนไร้ความสามารถจะทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้  หรือทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลไม่ได้มิฉะนั้นนิติกรรมจะตกเป็นโมฆียะ 
3. คนเสมือนไร้ความสามารถ  หมายถึง  คนที่ไม่ถึงกับวิกลจริต แต่มีเหตุบกพร่องบางประการไม่สามารถจัดการงานของตนได้  ศาลจึงตั้งผู้ดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ  เรียกว่า  ผู้พิทักษ์ 
การทำนิติกรรม  โดยหลักคนเสมือนไร้ความสามารถทำนิติกรรมได้โดยลำพัง  ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์  แต่มีข้อยกเว้นในการทำนิติกรรมบางประเภทเท่านั้นที่กฎหมายกำหนดให้คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือโดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์  หากฝ่าฝืนนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ  เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน  นำทรัพย์สินไปลงทุนการรับประกัน  การให้โดยเสน่หา  การเสนอคดีต่อศาล  หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ  เป็นต้น
4. คู่สมรส  หมายความ  ถึงสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายโดยหลักแล้วคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถทำนิติกรรมโดยลำพังตนเองได้ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมสรอีกฝ่ายหนึ่ง  แต่มีข้อยกเว้นในการทำนิติกรรมบางประเภทเท่านั้นที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส  กฎหมายกำหนดให้การทำนิติกรรมนั้น ๆ  คู่สมรสโดยต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน  หากฝ่าฝืนนิติกรรมตกเป็นโมฆียะเช่น  ขาย  แลก  เปลี่ยน  ขายฝาก  ให้เช่าซื้อ  จำนอง  ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า  3  ปี  ให้กู้ยืมเงินให้โดยเสน่หา  ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย  เป็นต้น 
2.3 แบบแห่งนิติกรรม 
 แบบของนิติกรรมหรือกรอบพิธีภายนอกของนิติกรรมนั้น  โดยหลักแล้วแม้นิติกรรมจะสมบูรณ์เมื่อมีการแสดงเจตนาก็ตาม  แต่การแสดงเจตนาอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ  ต้องทำตามแบบหรือกรอบพิธีภายนอกของนิติกรรมเสียก่อน  มิฉะนั้นมีผลเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบนิติกรรมในทุกเรื่อง  หากนิติกรรมใดกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้  นิติกรรมนั้นอาจสมบูรณ์ได้เพียงการแสดงเจตนา
แบบของนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น  สามารถแยกเป็น  4  ประเภทดังนี้ 
3.1 แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพบนักงานเจ้าหน้าที่เช่น  สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษซึ่งได้แก่เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่  6   ตันขึ้นไป  เรือยนต์หรือเรือกลไฟมีระวางตั้งแต่  5  ตันขึ้นไป  แพและสัตว์พาหนะ  แลกเปลี่ยน ให้  จำนอง  เป็นต้น  กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3.2 แบบที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  แบบของนิติกรรมประเภทนี้กำหนดเพียงต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ  เช่น  การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท  การจดทะเบียนสถานะของบุคคล  ได้แก่การเกิด  การตาย  การสมรส  การหย่า  การรับรองบุตร  การรับบุตรบุญธรรม  กฎหมายกำหนดให้ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
 3.3 แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เช่น  การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือแบบลับ
3.4  แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือ  กล่าวคือต้องลงลายมือชื่อในหนังสือที่ทำนิติกรรม  หนังสือนั้นจะทำเป็นภาษาต่างประเทศก็ได้  จะเขียนเองหรือพิมพ์ก็ได้
ส่วนลายมือชื่อนั้น  หากคู่กรณีต้องการใช้พิมพ์นิ้วมือ  หรือเป็นแกงไดตราประทับ  หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นแทนการลงลายมือชื่อ  หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนให้ถือเสมือนกับลงลายมือชื่อ
นิติกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น สัญญาเช่าซื้อ  หรือการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา เป็นต้น
2.4 วัตถุประสงค์ของของนิติกรรม 
 หมายถึงประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมประสงค์จะให้เกิดหรือให้เป็นผลขึ้นมา  เช่น  ทำสัญญาซื้อบ้านผู้ซื้อต้องการได้กรรมสิทธ์ในบ้านมาเป็นของตน  ฝ่ายผู้ขายต้องการได้เงินจากการขายบ้าน  เป็นต้น  แต่หากนิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว  นิติกรรมเป็นโมฆะ
 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมี  3  กรณีดังนี้ 
 1. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย  กล่าวคือมีกฎหมายห้ามไว้ไม่ให้กระทำ  เช่น  การซื้อขายยาเสพติด  การจ้างฆ่าคน  การติดสินบนเจ้าพนักงาน  หรือการทำพินัยกรรมในกรณีที่อายุยังไม่ครบ 15 ปี  เป็นต้น
 2. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย  กล่าวคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้โดยแน่แท้  เช่น  ทำสัญญาซื้อม้าชื่อสิรินภา  แต่ม้าตัวดังกล่าวตายก่อนทำสัญญา  ถือว่าสัญญาซื้อขายม้ามีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย  หรือทำสัญญาว่าจะย้ายดอกอินทนนท์มาไว้ที่กรุงเทพฯ  ถือเป็นเรื่องมีวัตถุประสงค์เป้ฯการพ้นวิสัยไม่อาจชำระหนี้ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์นั้นได้
 3. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน  เช่น  รับจ้างเป็นชู้กับภรรยาของคนอื่น เป็นต้น
2.5 การแสดงเจตนาของผู้ทำนิติกรรม
ซึ่งโดยหลักทั่วไปของนิติกรรม  ต้องเป็นการกระทำของบุคคลโดยมีการแสดงเจตนา  การแสดงเจตนาจะมีผลสมบูรณ์เมื่อการแสดงเจตนากับการแสดงออกเหมือนกัน  แต่ถ้าการแสดงออกไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงที่มีอยู่ในใจอาจทำให้นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆะหรือโมฆียะได้แล้วแต่กรณี
ความบกพร่องของการแสดงเจตนาที่ทำให้นิติกรรมไม่สมบูรณ์มีดังนี้
1. การแสดงเจตนาซ่อนเร้น  หมายถึงการแสดงเจตนาหลอก  เพราะผู้แสดงเจตนาได้แสดงเจตนาออกมาเพียงหลอก ๆ  ไม่ต้องการให้มีผลผูกพันจริงจังดังที่แสดงออกมานั้น  กล่าวคือปากกับใจไม่ตรงกันผลของการแสดงเจตนาซ่อนเร้นนิติกรรมยังคงสมบูรณ์อยู่  คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามนิติกรรมที่แสดงออกทุกอย่าง  เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันแท้จริงในใจ  จึงจะทำให้นิติกรรมที่แสดงออกมานั้นตกเป็นโมฆะ แต่หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป  นายไข่รู้ว่านายไก่มีเจตนาจะยืมเงิน  และการซื้อขายบ้านนั้นทำเพื่อลวงเท่านั้น  มีผลให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
2. การแสดงเจตนา  หมายถึงคู่กรณีไม่มีเจตนาที่จะทำนิติกรรมกันจริง ๆ  แต่ทำขึ้นเพื่อหลอกบุคคลภายนอก  นิติกรรมที่เกิดจากเจตนาลวงตกเป็นโมฆะ  แต่ห้ามยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกที่สุจริต  และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
3. นิติกรรมอำพราง  หมายถึงในระหว่างคู่กรณีจะมีการทำนิติกรรมขึ้นเป็น 2 ลักษณะ  กล่าวคือ  นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงที่ทำขึ้นเพื่อลวงผู้อื่นให้เข้าใจว่าคู่กรณีได้ตกลงทำนิติกรรมลักษณะนี้กัน  และอีกลักษณะคือ  นิติกรรมที่ถูกอำพรางอันเป็นนิติกรรมที่แท้จริงของคู่กรณีที่ปกปิดอำพรางไว้ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้  ดังนั้นในระหว่างคู่กรณีจะต้องบังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางนี้ แต่อย่างไรก็ตามนิติกรรมอำพรางนั้น  จะต้องทำให้ถูกต้องตาม แบบ ที่กฎหมายบังคับไว้ด้วย  มิฉะนั้นนิติกรรมอำพรางนั้นย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้  เช่น  โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยเป็นการอำพรางการจำนอง  นิติกรรมฉบับแรกคือสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมเปิดเผย  ย่อมตกเป็นโมฆะ  เพราะว่าเป็นการแสดงเจตนาลวง  ส่วนนิติกรรมฉบับหลังคือสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพราง  ในระหว่างคู่สัญญาต้องบังคับตามนิติกรรมอำพราง  คือสัญญาจำนองแต่ว่าการจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้  จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนองแต่เป็นเพียงการกู้เงินโดยอาศัยเอกสารการขายฝากที่ดินที่ทำกันไว้  ณ  สำนักงานที่ดินเป็นสัญญากู้เงิน
4.ความสำคัญผิด  เป็นเรื่องการเข้าใจความจริงที่ไม่ถูกต้อง  กล่าวคือเหตุการณ์เป็นอย่างหนึ่งแต่เข้าใจว่าเป็นอีกอย่างหนึ่ง  การสำคัญผิดที่ทำให้นิติกรรมไม่สมบูรณ์แบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ
1) สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม  เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรมซึ่งมีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ
2. นายหนึ่งส่งมอบนาฬิกาให้แก่นายสองโดยเจตนาจะฝากไว้  แต่นายสองสำคัญผิดว่านายหนึ่งให้โดยเสน่หา  การให้ถือเป็นโมฆะ
3. นายเอกให้เงิน  10,000  บาทกับฝาแฝดชื่อนายใหญ่  ซึ่งนายเอกเชื่อว่าเป็นนายเล็กแฝดผู้น้อง  ถือเป็นการสำคัญผิดในตัวคู่กรณีที่เกี่ยวข้องในนิติกรรม  การแสดงเจตนาของนายเอกเป็นโมฆะ
2) สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นความสำคัญผิดในมูลเหตุจูงใจให้ทำนิติกรรม  ซึ่งหากเป้ฯการสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์นั้นเป้ฯสาระสำคัญ  จะมีผลในทางกฎหมายทำให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆียะ
5. การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล  กลฉ้อฉล  หมายถึง  การหลอกลวงให้เขาสำคัญผิด  ต่างกับสำคัญผิด  เนื่องจากสำคัญผิดเกิดขึ้นจากความนึกคิดของผู้แสดงเจตนาเอง  แต่กลฉ้อฉลเป็นเรื่องการสำคัญผิดซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากความนึกคิดของผู้แสดงเจตนาเอง  หากเป็นเพราะมีบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งอาจเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกมาหลอกลวงให้สำคัญผิด  ผลของการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
 6. จากแสดงเจตนาเพราะเหตุข่มขู่  การข่มขู่  หมายถึง การทำให้กลัวภัยอันใดอันหนึ่ง  เพื่อให้เขาทำนิติกรรม  ถ้าหากไม่ทำตามที่บอกจะได้รับภัยแต่หากการข่มขู่นั้นทำให้อีกฝ่ายหนึ่งกลัวเพราะเป็นสิทธิตามกฎหมาย  หรือเพราะความนับถือยำเกรง ไม่ถือเป็นการข่มขู่  เช่น  ขู่ว่าจะฟ้องคดี  ขู่ว่าจะบอกเลิกสัญญาหรือเป็นความสัมพันธ์ที่ต้องเคารพยำเกรง  เช่น  ลูกกับพ่อ  ศิษย์กับอาจารย์  กรณีเหล่านี้ไม่ใช่การข่มขู่    
2.6 ความสมบูรณ์แห่งนิติกรรม
 การใดที่ถือว่าเป็นการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จะมีผลทำให้นิติกรรมที่ทำขึ้นเกิดความไม่สมบูรณ์ การนั้นต้องมีเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่งเกิดขึ้น ได้แก่
1. ความบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถในการทำนิติกรรม ตามมาตรา ๑๕๓ 
 2. ความบกพร่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๑๕๐
 3. ความบกพร่องเกี่ยวกับนิติกรรมอันเป็นการแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา ๑๕๑ 
 4. ความบกพร่องเกี่ยวกับแบบแห่งนิติกรรม ตามมาตรา ๑๕๒ 
5. ความบกพร่องของการแสดงเจตนาของบุคคลผู้ทำนิติกรรม ตามมาตรา ๑๕๔-๑๖๗ล
2.7 ความไม่สมบูรณ์แห่งนิติกรรม 
 นิติกรรมที่ทำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว นิติกรรมสองฝ่ายหรือนิติกรรมประเภทอื่นๆ ก็ตามหากเข้าหลักเกณฑ์ถูกต้องใน 4 ประการนี้คือ วัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม แบบแห่งนิติกรรม และการแสดงเจตนาของผู้ทำนิติกรรม นิติกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แต่ถ้านิติกรรมนั้นไม่ถูกต้อง หรือ บกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น นิติกรรมนั้นก็ไม่สมบูรณ์ ความไม่สมบูรณ์จะมีผลในกฎหมาย 2 ประการ คือ 
1. มีผลเป็นโมฆะ หรือ 
2. มีผลเป็นโมฆียะ




                    


1 ความคิดเห็น:

  1. โดยทางที่คุณทำงาน?คณบดี? ตัวอย่างเช่นฉันอยากรู้จริงๆแล้วเนี่ย ฉันขอแนะนำเว็บไซต์ https://topbrokers.com/th/forex-promotions/bonus อยู่ที่ไหนฉันสามารถหาหลายข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับการทำเงินในโลกออนไลน์แล้วมันจะช่วยฉันมากมายในอนาคต

    ตอบลบ