วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 กฎหมายลักษณะหนี้

บทที่ 3 กฎหมายลักษณะหนี้   

3.1  ความหมาย และองค์ประกอบสำคัญของคำว่าหนี้
ในส่วนนี้จะกล่าวถึงนิยามความหมายของคำว่า หนี้”  บ่อเกิดของหนี้  ตลอดจนลักษณะเฉพาะที่สำคัญ   เพื่อนำไปสู่การอธิบายว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ หนี้มีอยู่อย่างไร  และอันจะทำให้ทราบว่า  แท้ที่จริงแล้วกฎหมายลักษณะหนี้มิได้มีอยู่เพียงในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ บทเบ็ดเสร็จทั่วไปเท่านั้น  พร้อมทั้งจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายลักษณะหนี้ทั้งหลายที่กระจัดกระจายกันอยู่  อันจะทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นถึงขอบเขตเนื้อหาสาระของวิชานี้
1. ความหมายและข้อความคิดของ หนี้
2. เนื้อหาสาระของกฎหมายว่าด้วยหนี้
3.2 บ่อเกิดแห่งหนี้
      การศึกษาในส่วนนี้กล่าวได้ว่าเป็นส่วนที่เป็นหัวใจของวิชาน.200 นั่นคือเมื่อมีหนี้เกิดขึ้นในระหว่างคู่กรณีและได้ทราบถึงเนื้อหาสาระความผูกพันระหว่างกันหรือวัตถุแห่งหนี้    กรณีจะมีผลทางกฎหมายเช่นไรหากคู่กรณีมิได้ปฏิบัติตามวัตถุแห่งหนี้หรือเนื้อหาสาระของความผูกพันที่มีต่อกัน  ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกกันว่า การไม่ชำระหนี้  โดยในเบื้องต้นจะต้องศึกษาถึงความหมายและประเภทต่างๆ ของการไม่ชำระหนี้   จากนั้นจะศึกษาถึงเงื่อนไขการบังคับให้คู่กรณีปฏิบัติตามเนื้อหาสาระหรือที่เรียกว่าการบังคับชำระหนี้  ตลอดจนการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการไม่ชำระหนี้นั้น   นอกไปจากนี้  จะได้ศึกษาถึงเรื่องเจ้าหนี้ผิดนัดอันเป็นส่วนที่เกี่ยวพันทำให้การชำระหนี้ของลูกหนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้  และการรับช่วงสิทธิซึ่งเป็นผลแห่งหนี้ประการหนึ่งที่มีผลทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบุคคลอื่นที่มิใช่ลูกหนี้
 1. บทนำ
 2. การไม่ชำระหนี้
 3. การบังคับชำระหนี้
 4. ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้
 5.เจ้าหนี้ผิดนัด
 6. การรับช่วงสิทธิ
 3.3 วัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้เป็นสาระสำคัญที่สุดประการหนึ่งในองค์ประกอบแห่งความเป็นหนี้ระหว่างกัน   และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาที่เป็นสาระสำคัญของวิชา น.200 อันเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับผลแห่งหนี้   ในส่วนนี้จึงจะเริ่มศึกษาจากความหมายของวัตถุแห่งหนี้ ต่อจากนั้นจึงจะศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในมาตรา 194 - 202 
1.ความหมายและความสัมพันธ์กับการแบ่งประเภทของหนี้
2. หนี้เกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะสิ่งและทรัพย์เป็นประเภท
3. หนี้ซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้หลายอย่าง
4. หนี้เงิน
3.4 การเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้
 นอกไปจากมาตรการการคุ้มครองกองทรัพย์สินโดยทั่วไปดังที่กล่าวมาในบทที่แล้ว  มาในบทนี้จะได้กล่าวถึงมาตรการพิเศษทางกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้อีกขั้นหนึ่งสูงขึ้นไปหรือมากขึ้นไปกว่าปกติ  และมีให้แก่เจ้าหนี้บางลักษณะหรือเจ้าหนี้บางประเภทที่กฎหมายเห็นว่าสำคัญควรค่าแก่การให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษเท่านั้น   ซึ่งมาตรการนี้ก็คือ การให้หลักประกันแห่งหนี้ที่เรียกว่า  สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิ  และเป็นการให้เกิดขึ้นมีขึ้นโดยผลของกฎหมาย  คู่กรณีมิต้องแสดงเจตนาให้บังเกิดขึ้นเลย
1.สิทธิยึดหน่วง 
2.บุริมสิทธิ
3.5 ระงับแห่งหนี้ 
ในบทนี้จะกล่าวถึงการสิ้นสุดของนิติสัมพันธ์ทางหนี้  ซึ่งในบรรพ 2 ลักษณะ 1 กำหนดไว้ 5 ประการ  รวมตลอดถึงการสิ้นสุดในลักษณะอื่นๆ ที่มีผลในทำนองเดียวกัน
1. บทนำ
2. การชำระหนี้
3. การหักกลบลบหนี้
4. การแปลงหนี้ใหม่
5. การปลดหนี้ และหนี้เกลื่อนกลืนกัน
6. ความระงับในประการอื่น

  



2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. คุณต้องการจะเห็นประทับใจมาสวมเสื้อกันหนาวได้ของแบงค์ไว้ในกระเป๋าของเธอและไม่เป็นภูเขาของ manet? งั้นบินเพื่อที่นายหน้าขายประกันเว็บไซต์ของ https://topbrokers.com/th/forex-charts/xau-usd-live! และเป็นมืออาชีพจะแสดงให้เห็นวิธีที่จะทำเงิน! เรียกไปยังตำแหน่งเชื่อมโยงไปเครื่องจ่ายเงินและเริ่มต้นจะทำมาหากินสุจริตรงนี้และตอนนี้เพราะคุณสามารถได้รับเงินได้ดีโดยไม่มี straining!

    ตอบลบ